fon


วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

love you

วันสดใส
เขียนโดย fon ที่ 01:47 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
บทความที่ใหม่กว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

เกี่ยวกับฉัน

fon
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

คลังบทความของบล็อก

  • ▼  2012 (1)
    • ▼  กุมภาพันธ์ (1)
      • love you

สัญลักษณ์

สัญลักษณ์

สัตว์ประจำชาติ

สัตว์ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติ

ธงประจำชาติ

ธงประจำชาติ

ผู้ติดตาม

ประเทศพม่า

พม่า Myanmar

เมืองหลวง

เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า: ) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ทิศใต้ ติดกับเทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว
ทิศตะวันออก ติดกับเป็นที่ราบสูงชาน
ทิศตะวันตก ติดกับมีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า

ภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่จะเป็นเทือกเขาสูงจากเหนือลงใต้ เพราะเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัยสลับกับพื้นที่ที่เป็นที่ราบสูงมียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ คือ ยอดเขาคากาโบ ราซี (Hkakabo Razi) มีความสูง 5,881 เมตร และมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญคือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี (Ayeyarwady หรือ Irrawady) แม่น้ำชินด์วินด์ (Chindwinh) แม่น้ำสะโตง (Sittoung) แม่น้ำสาละวิน (Salween) ซึ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเหล่านี้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยทำการเกษตรที่สำคัญของชาวพม่าจวบจนปัจจุบัน

ภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศ จะมีอากาศแห้ง และร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะ แปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลาง หรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวคือ ควรเดินทางในช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และ อากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก

ประชากร

ประชากรส่วนใหญ่ของพม่าจัดอยู่ในกลุ่มชาวทิเบต – พม่า (Tibeto-Burman) ซึ่งอพยพลงมาจากดินแดนทิเบต โดยกลุ่มชนชาวพยู (Pyu) เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามา ตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในพม่า ตั้งแต่ยุค 2,500 กว่าปีก่อน ปัจจุบันเชื้อสายของประชากรจึงมีความแตก ต่างกันมากมาย ประกอบไปด้วยชนเชื้อสายม่าน หรือเมียน หรือพม่า ประมาณ 65% ชาวไทใหญ่ 10% ชาวกะเหรี่ยง 7% ชาวยะไข่หรืออาระกันและชาวฉิ่น 4 % และชาติพันธุ์ที่เหลือแตกย่อยออก ไปเป็นกลุ่ม ชนอื่น ๆ มากมายถึง 135 ชาติพันธุ์ ได้แก่ พวกกะฉิ่น ว้า มอญ ไต ม้ง และกลุ่มชาวอัสสัมเผ่าต่าง ๆ เป็นต้น

ระบอบการปกครอง

มีระบบการปกครองแบบเผด็จการทหาร

เขต
เขตการปกครอง ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต (divisions) และ 7 รัฐ (states) ได้แก่
1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) 2.เขตพะโค (Bago) 3.เขตมาเกว (Magway)
4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) 5.เขตสะกาย (Sagaing) 6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) 7.เขตย่างกุ้ง (Yangon)

รัฐ
ได้แก่ 1.รัฐรัฐชิน (Chin) 2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) 3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) 4.รัฐกะยา (Kayah) 5.รัฐมอญ (Mon) 6.รัฐยะไข่ (Rakhine) 7.รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan)

ภาษา

ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่า กะเหรี่ยง และไทใหญ่ เพราะเป็นกลุ่มชนส่วนมาก และแม้จะมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองสำหรับใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติ แต่ก็มีจำนวนน้อยที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่นักท่องเที่ยวสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับพนักงานโรงแรมหรือตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้

สถานที่ท่องเที่ยว

เจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา ) SHWEMAWDAW PAGODA

แหล่งอ้างอิง

www.google.com
หน้าต่างรูปภาพ ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.